*มีการเปิดเผยเนื้อหาและตอนสำคัญ
เรื่องราวของ ‘ทิวฟ้า’ สาวน้อยผู้ทุ่มเทให้กับความรักสุดแท้แต่กลับต้องมาอกหักผิดหวังเสียเอง จนเมื่อคืนหนึ่งที่เธอได้มาพบกับ ‘เดวา’ เทวดาหนุ่มที่ตั้งใจปรากฎตัวขึ้นต่อหน้าและตั้งจะเข้ามาเปลี่ยนนิยามของความรักของหญิงสาวให้เปลี่ยนไปตลอดกาล
คำถามที่น่าสนใจของเรื่องราวนี้อาจจะไม่ใช่คำถามที่ว่า ‘เดวา’ ที่มาปรากฎตัวในภาพยนต์เป็นสิ่งใดกันแน่ หากแต่คำถามที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ ตัวละครอย่างทิวฟ้าและผู้ชมอย่างเราเชื่อในการมีอยู่ของสิ่งเหนือธรรมชาติอย่างตัวของเดวาในภาพยนต์เรื่องนี้หรือไม่ต่างหาก
ภาพยนตร์ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการมีอยู่ของเดวาเพียงเล็กน้อยผ่านบทพูดของตัวทิวฟ้าที่ไล่ว่าหากเดวาทำห้เธอ move on ไม่สำเร็จก็ควรจะกลับสวรรค์ไป ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้เราสามารถอนุมานได้ว่าเดวาเป็นสิ่งมีชีวิตที่มาจากสวรรค์และสามารถแปลงกายลงมาปรากฎตัวยนโลกมนุษย์ได้ในฐานะ ‘เทวดา’ (Angel) เพียงแต่ว่าความสามารถต่างๆ ที่เดวาทำได้ในการช่วยเหลือกลับค่อนข้างเรียบง่ายและไม่ค่อยมีน้ำหนักเท่าที่ควร เช่น การร้องเพลง ช่วยแต่งหน้า หรือ การพาออกไปเดินเล่น แต่ถึงเทวดาผ่านในเรื่องนี้จะไม่ได้แสดงอิทธิฤทธ์ปาฏิหาริย์มากมายอะไรนัก การช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ ดังกล่าวกลับทให้ทิวฟ้าได้หลุดพ้นจากบ่วงเศร้าในอารมรณ์และชักนำไปสู่มุมมองความคิดใหม่ๆ ที่ทำให้เธอเริ่มกลับมา ‘รักตัวเอง’
“หากคุณยังรักตัวเองไม่เป็น แล้วคุณจะรักคนอื่นได้อย่างไร” เป็นประโยคที่น่าสนใจในเชิงจิตวิทยาว่าความคิดและความรู้สึกที่บุคคลมีต่อตนเองนั้น จะมีผลอย่างไรบ้างกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพราะในที่นี้ “การรักตัวเอง” ไม่ได้หมายความถึง การเห็นแก่ตัว หรือ การตามใจตัวเอง ซึ่งเป็นการทำเพื่อให้เราได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ แต่สิ่งที่เราได้มานั้นกลับเป็นเพียงความสุขที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น “การรักตัวเอง” ในที่นี้หมายถึง การเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion) ซึ่งการที่ตัวละครอย่างทิวฟ้าได้มีโอกาสตั้งสติและปล่อยวางจากความเศร้าในชั่วขณะหนึ่งผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ กับเดวาและการเข้าใจในเรื่องของการเติมเต็มความต้องการให้กับตัวเองนั้นอาจะชักนำให้เธอเริ่มมองเห็นในความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเอง เข้าใจว่าความเป็นไม่สมบูรณ์แบบนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนก็มีเหมือน ๆ กัน รวมถึงตระหนักรู้ถึงความคิดและความคาดหวังของตัวเอง เป็นกระบวนการที่ช่วยให้เกิดการยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบหรือการไม่เป็นไปตามความคาดหวังของอีกฝ่าย ซึ่งสิ่งนี้นี่เองที่จะช่วยลดปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างคู่รักและต่อตนเองลงไปได้
ในแง่เนื้อหาสาระและน้ำเสียงของภาพยนตร์อาจจะยังสามารถสื่อสารออกมาได้ชัดเจนยิ่งขึ้นหากนำไปพัฒนาต่อเพิ่มเติม แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งขึ้นเมื่อในช่วงท้ายของภาพยนตร์หลังจากที่ทิวฟ้าเริ่มหันกลับมารักตัวเองแล้วนั้นปรากฎว่าตัวของเดวาเองกลับได้หายตัวไปและปลุกทิวฟ้าให้ตื่นขึ้นมาจากนิทราราวกับว่าเรื่องรราวทั้งหมดเป็นเพียงความฝันที่เกิดขึ้นในยามราตรีเท่านั้น
ตัวตนของเดวาในความเหนือธรรมติอาจเป็นสิ่งที่น่าสงสัย ในอีกนัยหนึ่งเชิงทฤษฎีทางจิตวิทยาที่ว่าด้วยเรื่องของความฝันนั้นได้อธิบายเอาไว้ว่า ความฝันอาจเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ที่ผ่านมาหรือเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ส่วนใหญ่ความฝันคือแรงปรารถนา ความวิตกทุกข์ร้อน ความกลัว ที่ถูกเก็บกดอยู่ในจิตไร้สำนึก (Unconscious) หรือเป็นความพยายามแก้ปัญหาซึ่งยังไม่สามารถลุล่วงในตอนกลางวัน จึงเกิดความไม่สบายใจจึงแสดงออกในช่วงเวลาที่นอนหลับเพราะต้องการระบายความรู้สึกวิตกกังวลนั้นออกมา ซึ่งการมาถึงของเดวาที่เรียกได้ว่าเป็นเพื่อนในจิตนาการที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับทิวฟ้าที่กำลังโศกเศร้าอาจมองได้ว่า เดวาเองอาจไม่ใช่เทวาที่มาจากสวรรค์หรือสิ่งเหนือธรรมชาติอย่างที่เราเข้าใจ แต่หากเป็นจิตไร้สำนึกของสาวน้อยที่ก่อตัวขึ้นมาเป็นเพื่อนชายที่น่ารัก เพื่อดูแลสุขภาพจิตของตัวเอง ‘ผ่านตัวเอง’ ของสาวน้อย
และหากเราสามารถอธิบายและเชื่อถึงการมีอยู่ของเดวาในรูปแบบข้างต้น ก็อาจแสดงว่าภาพยนตร์สั้นทั้งหมดภายในเรื่องอาจเป็นเพียงกระบวนการจัดการความเศร้าภายในจิตใจของเด็กสาวที่กำลังเติบโตและเรียนรู้ถึงการจัดการอารมณ์แบบผู้ใหญ่ก็เป็นได้