15 วิธีโหดมันเฮ ทำ ‘แอนิเมชั่น’ ตอนที่ 2 Stop Motion

ในบทความที่แล้วเราพูดถึง Traditional animation ไปแล้ว ส่วนบทความนี้เราจะชวนมารู้จักกับแอนิเมชั่นในแบบสต็อปโมชั่น (Stop Motion) เป็นแอนิเมชั่นที่แอนิเมเตอร์ต้องสร้างส่วนประกอบต่างๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่นนอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษหรือแผ่นเชลและยังต้องยอมเหมือนมือขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิดๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรมๆ สต็อปโมชั่นมีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น

2.1 คัตเอาต์แอนิเมชั่น (Cutout animation) สมัยก่อนแอนิเมชั่นแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ 2 มิติ (เช่น กระดาษ, ผ้า) ตัดเป็นรูปต่าง ๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันชีวิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย (โปรแกรมหนึ่งที่ทำได้ง่าย ๆ คือ Cutout Pro’s Stickman ใครสนใจคลิกไปได้ที่ www.cutoutpro.com) ตอนแรกๆ ของแอนิเมชั่นแสบ South Park ทำจากกระดาษจริงๆ แต่ปัจจุบันใช้วิธีทำภาพด้วยคอมพิวเตอร์ คัดเอาท์แอนิเมชั่นที่ใช้วิธีฉายไฟเข้าด้านหลัง เพื่อให้ได้ภาพเงาดำแบบนี้ มีชื่อว่า Silhouette animation คิดค้นโดยล็อตเตอร์ ไรนิเกอร์ แอนิเมเตอร์ชาวเยอรมัน ผลงานคลาสสิกของเธอ คือ The Adventures of Prince Achmed (1926) หรือ The Mysterious Geographic Explorations of Jasper Morelos (2005) หนังสั้นออสเตรเลียระดับชิงออกสการ์ของ แอนโธนี่ ลูคัส ใช้ภาพตัวละครเงาดำ 2 มิติ ผสมแบ็คกราวด์ 3 มิติที่ทำบนคอมพิวเตอร์ และเอ็มวี Earth Intruders ของ บียอร์คก็ใช้เทคนิค Silhouette animation

2.2 เคลย์แอนิเมชั่น (Clay animation - เรียกย่อ ๆ ว่า เคลย์เมชั่น/ Claymation) คือ แอนิเมชั่นที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้

2.3 กราฟิกแอนิเมชั่น (Graphic animation) เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่าง ๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) ผลที่ได้จะเป็นเหมือนชุดภาพนิ่งที่ถูกฉายต่อกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะน่าสนใจแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับภาพที่เลือกมา จังหวะการตัดต่อ และเรื่องที่เล่า Frank Film หนังสั้นชนะออสการ์ ปี 1973 ของ แฟรงค์ โมริส (ดูตัวหนังแบบเต็ม ๆ ได้ที่ Youtube)
2.4 โมเดลแอนิเมชั่น (Model animation) คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับแล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและแบ็คกราวเหมือนจริง ตัวอย่างคลาสสิก เช่น king Kong ฉบับดั้งเดิมของ วิลลิส โอเบรียน และ Jason and Argonauts ของ เรย์ แฮร์รี่เฮาเช่น แฮร์รี่เฮาเช่นกำลังขยับโมเดลหน้ากล้อง รูปจากหนัง Jason and the Argonauts

2.5 แอนิเมชั่นที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation) ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว เช่น The Nightmare before Christmas (1993) ของ ทีมเบอร์ตัน ใช้หุ่น (Puppet) หรือแอนิเมชั่นตุ๊กตาเรื่อง Team America (2004) หรือหากเคยดูตัวต่อเลโก้เล่นหนัง อาจได้ยินคำว่า Brick Films ชื่อเรียกชุดหนังสั้นแสนเจ๋งที่ใช้เลโก้เป็นตัวละคร ...คลิกดูได้ที่ www.brickfilms.com และซีรี่ส์ A Town Called Panic ว่าด้วยคาวบอย, อินเดียนแดง และม้าที่ใช้ชีวิตบ้า ๆ ในหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง แต่ละตอนยาว 5 นาที และแสดงตัวชักมากว่าเป็นแอนิเมชั่นที่ไร้ความประณีตแต่ก็สุดมัน

2.6 พิกซิลเลชั่น (Pixilation) เป็นสต็อปโมชั่นสุดพิสดาร เพราะแทนที่จะใช้ตุ๊กตาดินเหนียวหรือหุ่น ก็เปลี่ยนเป็นใช้คนจริงๆ นั่นแหละมาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชั่นที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคนและอยากให้ทั้งหุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือไม่ก็แอนิเมชั่นที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ ประหลาดๆ ไม่ว่าจะน่าขำหรือน่ากลัวก็เถอะ ด้วยความที่มีคนเป็นตัวแสดงหลัก เราจึงอาจใช้วิธีตั้งกล้องถ่ายนักแสดงตามปกติ จากนั้นก็เลือกแค่บางเฟรมมาใช้โดยทิ้งเฟรมระหว่างนั้นไป ภาพที่ได้ก็จะดูเหมือนนักแสดงเคลื่อนไหวไม่ราบรื่นคล้ายการถ่ายทีละเฟรมแบบสต๊อปโมชั่น (แต่แน่นอนว่าดูไม่เจ๋งเท่า)
Neightours (1952) หนังสั้นของ นอร์แมน แม็กลาเรน แอนิเมเตอร์ ชั้นครูชาวแคนาดาว่า ด้วยเพื่อนบ้านที่ชกกันเพื่อแย่งดอกไม้ที่ต้นงอกตรงกลางรั้ว ดูได้ที่ Youtube ค้นหา Neighbours Norman McLaren …. (ผู้เขียน SCOOP / หมายเหตุ : บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกใน “ฟิ้ว” ฉบับที่ 9 และการตีพิมพ์ใหม่นี้ได้รับอนุญาตจากนิตยสาร “ฟิ้ว” แล้ว)