สุนทรียศาสตร์ในภาพยนตร์เบื้องต้น

“สำหรับคนที่เริ่มทำหนัง โดยธรรมชาติของการสร้างสรรค์ รวมถึงไอเดียต่าง ๆ เราไม่เชื่อแล้วว่าจะมีสิ่งใหม่จริง ๆเกิดขึ้น งานศิลปะที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เกิดจากการผสมผสาน แล้วนำมาสู่งานของเรา” – อ.ศาสวัต บุญศรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.ศิลปากร

ข้อกังวลของใครที่เริ่มจะทำหนังก็คือ กลัวว่าหนังของเราจะไม่เท่ไม่อาร์ต ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ความเท่ความอาร์ตมันเป็นเรื่องรสนิยมส่วนตัวต่างคนต่างชอบไม่เหมือนกัน มันไม่มีอะไรถูกอะไรผิด ที่สำคัญคือความชื่นชอบในภาพยนตร์แต่ละคนไม่เหมือนกัน รวมถึงหนังแต่ละเรื่องมันก็เปรียบกันยากว่าเรื่องไหนดีกว่าแย่กว่ากัน

ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการจะทำหนังสักเรื่อง ก็ควรเริ่มที่ “เราชอบดูหนังแบบไหนก็ทําหนังแบบนั้น” นั่นแหละ ในช่วงที่เป็นนักศึกษาภาพยนตร์เคยพบว่ามีรุ่นพี่บางคนบอกว่าจะไม่ดูหนังเรื่องไหนอีกแล้ว เพราะกลัวว่ามันจะมาครอบงำความคิดและจะไปทำซ้ำ ๆ กับคนอื่น ๆ คือไม่อยากจะให้ไอเดียของคนอื่น ๆ มาครอบงำความคิดสร้างสรรค์ของตน แต่เขาลืมไปว่าโดยธรรมชาติของการสร้างสรรค์ รวมถึงไอเดียต่างๆ ทุกวันนี้มันไม่มีสิ่งใหม่จริงๆเกิดขึ้นแล้ว งานศิลปะที่เกิดขึ้นล้วนแต่เกิดจากการผสมผสาน แล้วนำมาสู่งานของเรา

เหมือนที่เราชอบการ์ตูนวันพีช พอเราวาดเองเราคงไม่วาดแบบการ์ตูนตาหวาน คนทําหนังก็ เหมือนกัน มีน้อยมากที่ทําหนังเรื่องแรกก็เป็นสไตล์ของตัวเองเลย

ดังนั้นถ้าเราจะลองไม่ดูหนังอีกเลยเพราะหนังกลัวว่าจะถูกครอบงํา เราจะพบความจริงว่าสิ่งที่เราคิดว่าเป็นแบบใหม่แล้ว ไม่มีใครทําแบบเราอย่างแน่นอน สุดท้ายเราจะพบว่าในโลกนี้มันไม่มีอะไรใหม่อีกแล้ว เพราะการที่ดูหนังสั้นปีละหลาย ๆ เรื่อง จะพบเสมอว่ามันมีอะไรที่ซ้ำ ๆ กันตลอดเวลา เช่น พล็อตที่มีเพื่อนในความทรงจําเพื่อนในจินตนาการ สุดท้ายตอนจบก็จะหักมุมว่าอันนั้นไม่มีตัวตนจริง ทางออกตรงนี้ก็คือแม้ว่ามีอะไรที่ซ้ำกับเรื่องที่เราเคยดูมา แต่เรายังสามารถจะใส่อะไรต่อมิอะไรเข้าไปให้ต่างจากของคนอื่น ๆ ได้ แล้วพอทำเรื่องต่อๆ ไปเราอาจจะเริ่มทดลองหาอันนั้นอันนี้เพิ่มให้มากขึ้น แล้วก็จะเริ่มมีความเป็นตัวเรามากขึ้น

ดังนั้นง่าย ๆ เลย จงทำหนังที่อยากทํา เพราะเมื่อได้ทำสิ่งที่อยากทํา เรามี Passion แล้วเราก็จะใส่เต็มที่กับมัน เคยดูหนังผลงานน้องมัธยมมาแนวหนังบู๊ ถ่ายทำง่ายๆที่โรงเรียน แต่มันสนุกมากมันมาก เราเห็นได้ถึงความจริงใจในความสนุกนั้น

ข้อแนะนําอีกข้อสำหรับน้อง ๆ มือใหม่ทำหนังก็คือ ไม่จำเป็นต้องเดินตามรอยหนังแบบ Hollywood ไม่ว่าจะเป็นหนังไซไฟ หนังแอคชั่น หรือหนังสายลับที่เราดูกันอยู่ประจำ การลองหาเรื่องใกล้ ๆ ตัวบางครั้งกลับน่าสนใจยิ่งกว่า อย่างปัญหาที่เราเจอในโรงเรียน เราลองหาแง่มุมอื่น ๆ ที่เรารู้สึกจริงใจกับมันและอยากจะเล่ามาก ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้คนดูจะสัมผัสได้เมื่อมันออกมาเป็นหนัง

บทความนี้เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ อ.ศาสวัต บุญศรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.ศิลปากร ใน fuse. In Sequence

รับชมวิดีโอเพิ่มเติม

Play Video