มีเงินน้อย ทำหนังยังไงให้ปัง?

1. หาเพื่อนที่มีจุดยืนร่วมกันมาร่วมทีม

หลายคนมีไฟอยากทำหนังดีๆสักเรื่องแต่ติดที่ว่างบประมาณน้อย ไม่รู้ว่าจะทำได้ไหม? วันนี้เราจะมาการีนตีเลยว่าทุกอย่างย่อมเป็นไปได้ ขอเพียงรู้ทริคดีๆในการถ่ายทำจะช่วยประหยัดงบไปอย่างไม่น่าเชื่อ ขั้นแรก คุณต้องหาเพื่อนที่มีจุดยืนร่วมกันมาร่วมทีม ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งนักแสดง ตากล้อง คนเขียนบท หากคุณสามารถหาคนที่สนใจโปรเจคเดียวกันมาได้ คุณจะสามารถขอลดค่าตัวได้แบบสุดๆ หรือบางทีอาจจะต่อรองให้เป็นผู้ร่วมทุนสร้างด้วยกันก็ยังได้ ทั้งนี้คุณต้องเน้นย้ำให้เห็นประโยชน์ที่คนอื่นๆจะได้จากการมาร่วมงานนี้ให้มาก เช่น คุณมาช่วยแสดงแล้วคุณจะได้พอร์ตเพื่อต่อยอดในสายอาชีพการแสดงต่อไป หรือ “ลองมาช่วยเป็นตากล้องให้เราไหม? คุณจะได้ค้นหาความชอบของตัวเองว่าชอบทำงานตำแหน่งไหนในกองถ่าย บางคนอาจรู้สึกว่ายากไปรึเปล่านะ? แต่เชื่อถือะว่าในวงการภาพยนตร์ล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยคนที่มี Passion และรักในภาพยนตร์มาอยู่ร่วมกัน ถ้าคุณเจอทีมที่ใช่! โอกาสบินไปสู่ดาวในราคาติดดินก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว

2. คิดบทที่เล่าเรื่องสเกลเล็กได้ หรือ Less is more ทำน้อยได้มาก

คือการพยายามเล่าสถานการณ์สั้นๆที่มีเพียง Conflict เดียว เล่าเรื่องในบ้านเดียว หรือห้องเดียวเท่านั้น การจำกัดสเกลไม่ว่าในรูปแบบใดจะช่วยให้คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยคุณยังสามารถรักษาคุณภาพของภาพยนตร์ได้จากการสร้างบทที่มีความแข็งแรง เลือกใช้นักแสดงที่ถ่ายทอดอารมณ์ได้ดี รวมไปถึงเลือกใช้การตัดต่อในการเล่าเรื่อง
3. เงินยิ่งน้อยเตรียมงานต้องยิ่งแน่น เมื่อเรารู้แล้วว่ามีงบประมาณน้อย ควรใช้เวลาในการถ่ายทำให้สั้นที่สุด ภายใน 1-2 วัน โดยคุณต้องใช้เวลากับการเตรียมงานให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่นการไปบล๊อคช๊อตก่อนวันถ่ายจริง เตรียมการซ้อมการแสดง เช็คลิสพร็อบและที่ขาดไม่ได้ คือกันงบประมาณ 25%เอาไว้เพื่อแก้ไขความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ยิ่งคุณวางแผนละเอียดมากเท่าไร คุณยิ่งลดความผิดพลาดและเพิ่มโอกาสที่จะได้ภาพยนตร์ที่ดูราคาแพงในงบประมาณเพียงนิดเดียว

4. เลือกใช้ Free Footage

เพื่อเล่าเรื่องที่ยากจะเป็นไปได้อาจเป็นเรื่องทำใจยากของนักทำหนังหลายคนที่เชื่อว่างานที่ดีคืองานที่ถ่ายทำเองทั้งหมด แต่เมื่อเราอยู่ในขุดที่มีงบประมาณจำกัด สิ่งสำคัญที่สุดคือการเล่าเรื่องออกมาให้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุด โดยคุณสามารถใช้ภาพfree footageเหล่านี้เพื่อเล่าสถานการณ์ใหญ่ๆผ่านภาพข่าวที่เกิดขึ้นจริง หรือ free-footageจากเว็บไซต์ต่างๆ เช่น youtube.com, pexels.com เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คุณควรเลือกใช้ภาพเหล่านี้ในกรณีจำเป็นจริงๆเท่านั้น รวมถึงต้องตรวจสอบว่าวีดีโอนั้นๆเปิดลิขสิทธิ์ให้คนทั่วไปใช้ได้จริงหรือไม่? เพื่อป้องกันปัญหาด้านลิขสิทธิ์และเพื่อความโปรงใสสำหรับการตรวจสอบจากช่องทางต่างๆที่คุณต้องการเผยแพร่ในอนาคต ภาพยนตร์คือศาสตร์แห่งการเล่าเรื่อง เมื่อคุณมีสิ่งที่อยากเล่าให้โลกรู้ จงอย่าปล่อยให้อุปสรรค์เล็กๆอย่างเรื่องงบประมาณเป็นตัวดับฝัน เพราะรอบๆตัวเราเต็มไปด้วยสื่อความรู้และเทคนิกดีๆที่หาได้เพียงปลายนิ้ว ใช้สิ่งที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้วประกาศตัวตนของคุณให้โลกรู้ งานภาพยนตร์ชิ้นแรกของคุณจะกลายเป็นบันไดก้าวใหญ่ก้าวแรกที่จะพาคุณเข้าสู่วงการภาพยนตร์ที่คุณฝันได้สำเร็จ