พัฒนาตัวละครในภาพยนตร์อย่างไรให้โดนใจคนดู?

เคยไหม? ที่ดูหนังสักเรื่องแล้วทำให้เราเสียน้ำตาด้วยความสงสารจับใจ

เคยไหม? ที่ดูหนังสักเรื่องแล้วทำให้เราเสียน้ำตาด้วยความสงสารจับใจ หรือเกลียดชังจนสาปส่งทั้งๆที่พวกเขาเป็นแค่ตัวละครสมมุติในโลกภาพยนตร์เท่านั้น แต่ตัวละครเหล่านี้มีโครงสร้างบางอย่างที่มีเสน่ห์มากพอจะเข้าไปนั่งในหัวใจผู้ชมซึ่งถูกจำแนกออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆที่นอกจากจะทำให้บทภาพยนตร์แข็งแรงขึ้นแล้วยังทำให้ตัวละครเป็นที่พูดถึงแบบมิรู้ลืมอีกด้วย

1. สร้าง Character Arc

คือเส้นทางการเปลี่ยนแปลงของตัวละครในแต่ละช่วงวัย หรือหลังจากผ่านเหตุการณ์สำคัญในชีวิตที่จะเปลี่ยนนิสัยและความคิดของตัวละครไปตลอดกาล เช่นเดียวกับเราในอายุ 10 ปีกับอายุ 20 ปี ย่อมแตกต่างกัน ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะทำให้คนดูรู้สึกเข้าใจ ผูกพันและเรียนรู้ชีวิตไปกับตัวละครได้อย่างไม่ยาก เช่น ตัวละครคุณปู่จากเรื่อง up (2009) ที่เราจะเห็นว่าในตอนแรกคุณปู่เป็นเพียงคนธรรมดาที่มีความฝันร่วมกับภรรยาว่าอยากออกผจญภัยสักครั้งแต่มักมีเหตุให้ทริปต้องล่มเสมอ ชีวิตที่ผ่านช่วงวัยและการสูญเสียทั้งภรรยาและสภาพแวดล้อมรอบบ้าน ทำให้คุณปู่กลายเป็นคนฉุนเฉียวไม่มีความสุขจนกระทั่งเด็กน้อยได้เข้ามาเปลี่ยนชีวิตเขาไปตลอดกาล หรือตัวละครจาก As good as It get (1997) ว่าด้วยเรื่องหนุ่มวัยกลางคนที่มีนิสัยหยาบคาย หวาดกลัวเชื้อโรคที่ค่อยๆได้เรียนรู้ชีวิตและปรับตัวเป็นคนที่ดีขึ้น
2.การกำหนดบุคลิกภาพของตัวละครในเชิงลึก คือการสร้างคาแรกเตอร์จากภายในและภายนอกเพื่อให้เห็นปมปูมหลังวัยเด็กของตัวละครที่นำมาสู่พฤติกรรมในปัจจุบัน เช่น ตัวละครชายหนุ่มจาก Joker (2019) โจ๊กเกอร์เป็นตัวร้ายระดับตำนานที่ทั่วโลกกล่าวขานถึงความเพี้ยน มีพฤติกรรมประหลาดอย่างการปล้นเงินไปเผาซึ่งเป็นอาการโรคจิตที่ยากจะเข้าใจ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้จะพาเราไปเห็นอีกมุมว่าก่อนจะเป็นโจ๊กเกอร์ เขาเป็นเพียงชายหนุ่มสุภาพ รักแม่ที่อยากมีชีวิตเรียง่ายแต่กลับโดนสังคมบีบบังคับ ถูกทำร้ายจากระบบทุนนิยม ทั้งยังมีแม่ที่เป็นโรคจิตเภทจนเปลี่ยนชายหนุ่มแสนดีเป็นฆาตกรโรคจิต จากตัวละครที่คนทั้งโลกเกลียด เมื่อเราพาคนดูไปเห็นทุกแง่มุมของชีวิตตัวละครจะทำให้คนดูเกิดความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจมากขึ้นและนำไปสู่ความผูกพันกับตัวละครไปโดยปริยาย

3. ตัวละครที่เชื่อมต่อกับคนดู

ตัวละครที่เชื่อมต่อกับคนดู คือการกำหนด Main Character หรือตัวเอกของเรื่องให้มีความใกล้เคียงกับคนดู หรือคนในสังคมหมู่มาก เช่น น้ำ จาก4ภาพยนตร์เรื่องสิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก(2010) เด็กสาวใส่แว่นสุดเห่ยที่แอบหลงรักรุ่นพี่สุดป๊อปโดยมีแก๊งค์เพื่อนๆคอยเชียร์ ตัวละครนี้ถูกสร้างมาจากเด็กสาวส่วนใหญ่ในสังคมที่ต้องเคยแอบชอบรุ่นพี่สักครั้งในชีวิตและหวังจะเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้เขาหันมามอง หรือ ดา จากภาพยนตร์เรื่อง 4Kings หนุ่มอาชีวะที่ชอบมีเรื่องต่อยตีกับเด็กสถาบันอื่นๆ ล้วนสร้างมาจากเรื่องจริงของเด็กอาชีวะที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุค 90s จนถึงปัจจุบัน นอกจากการสร้างตัวละครที่เชื่อมต่อกับคนดูจะทำให้เข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้ง่ายแล้ว ยังง่ายต่อการหาข้อมูลเพื่อการสร้างภาพยนตร์ การวางแผนการตลาดเพื่อการโปรโมทไปจนถึงเหตุผลดีๆเพื่อการันตีความสำเร็จของภาพยนตร์อีกด้วย
4. ตัวละครที่เป็นขั้วตรงข้ามกับคนในสังคม หรือตัวละครที่คนดูจะเกลียดโดยสิ้นเชิง โดยทั่วไปแล้วชีวิตคนเรามักจะจดจำคนได้ 2 ประเภท คือคนที่เหมือนเรามากและคนที่แตกต่างกับเราโดยสิ้นเชิง ทำให้คาแรกเตอร์ตัวร้ายของภาพยนตร์หลายๆเรื่องมักเป็นที่จดจดไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทของพระเอกหรือตัวร้ายก็ตาม เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Hannibal Lecter (2001) เรื่องราวของแพทย์สุดเพอร์เฟคที่มีชีวิตอีกด้านเป็นฆาตกรต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามตัวละครขั้วตรงข้ามเหล่านี้จะทรงเสน่ห์ยิ่งขึ้นเมื่อเราใส่ Character arc หรือการเดินทางของตัวละครเข้าไป เช่น ตัวละคร ดาร์ธเวเดอร์ จาก Star war: Reture of The Jedi (1983) ที่ตัดสินใจกลับตัวเป็นคนดีในท้ายที่สุด